ขณะนี้คุณอยู่ที่ > หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > ข่าวกิจกรรม

ประชาสัมพันธ์ บทเพลงกระทรวงมหาดไทย


03 ตุลาคม 2566 171

บทเพลงกระทรวงมหาดไทย
https://drive.google.com/drive/folders/1q3Xwg213x5WNl2N3czmjroUSjmP7Rvfz

ความหมายเพลง และการนำไปประชาสัมพันธ์
ภายใต้แนวคิด "๑๓๐ ปี บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ด้วยหัวใจ ส่งความรักความห่วงใย ให้ประชาชน" ด้วยประโยคสำคัญของการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย คือ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ที่ใช้มาอย่างยาวนาน จึงนำมาใช้ในการประพันธ์เป็นบทเพลงเพื่อประชาสัมพันธ์กระทรวงมหาดไทย

กลุ่มเพลงเกี่ยวกับบทบาทภารกิจของกระทรวงมหาดไทย จำนวน ๙ เพลง
เพลงประจำภาค: เผยแพร่ในการประชุม งานอีเวนท์ต่าง ๆ ของภาค
๑. ม่วนอ๊กม่วนใจ๋: เป็นการนำเอานโยบายบริหารภาคเหนือของกระทรวงมหาดไทย มาแต่งเป็นบทเพลงภาษาถิ่น เพื่อให้ซึมชับได้ง่ายว่ากระทรวงมหาดไทยได้เข้าไปวางแผนอะไรให้ เช่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทำให้ประชาชนมีรายได้ สุขกายสบายใจ โดยมีการใช้เครื่องดนตรีท้องถิ่นอย่าง สะล้อ ซอ ซึง เพื่อให้ความรู้สึกแห่งอารมณ์ภาคเหนือชัดเจนขึ้น
แนวทางการเผยแพร่: เปิดในงานประชุม งานอีเวนท์หรือกิจกรรมของจังหวัดในภาคเหนือ
 

๒. ม่วนซื่นโฮแซว: เป็นการนำเอานโยบายบริหารภาคอีสานของกระทรวงมหาดไทย มาแต่งเป็นบทเพลงภาษาอีสาน เพื่อให้ซึมชับได้ง่ายว่ากระทรวงมหาดไทยได้เข้าไปวางแผนอะไรให้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ศูนย์กลางการแพทย์ ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี โดยใช้นักร้องและนักตนตรีอีสานแท้ ๆ มาสื่อสารบทเพลงนี้
แนวทางการเผยแพร่: เปิดในงานประชุม งานอีเวนท์หรือกิจกรรมของจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 

๓. บายใจหรอย: เป็นการนำเอานโยบายบริหารภาคใต้ของกระทรวงมหาดไทย มาแต่งเป็นบทเพลงภาษาท้องถิ่น เพื่อให้ซึมชับได้ง่ายว่ากระทรวงมหาดไทยได้เข้าไปวางแผนอะไรให้ เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว การแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัย รวมทั้งยังพูดถึงลักษณะเด่นของภาคใต้ที่มีทะเล ภูเขา และสังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้เครื่องดนตรีท้องถิ่น แต่ใช้ดนตรีแนวเร็กเก้ มาช่วยสร้างให้บรรยากาศทะเลชัดเจนขึ้น
แนวทางการเผยแพร่: เปิดในงานประชุม งานอีเวนท์หรือกิจกรรมของจังหวัดในภาคใต้
 

๔. ชื่นใจฮิ: เป็นการนำเอานโยบายบริหารภาคตะวันออกของกระทรวงมหาดไทย มาแต่งเป็นบทเพลงเพื่อให้ซึมชับได้ง่ายว่ากระทรวงมหาดไทยได้เข้าไปวางแผนอะไรให้ เช่น เศรษฐกิจสีเขียว มหานครผลไม้เมืองร้อนเอเชีย ท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยใช้ภาษาที่เล่นกับคำว่า ฮิ และใช้จังหวะตนตรีที่น่ารักสนุกสนานมาเดินเรื่องให้ฟังแบบเพลิดเพลิน
แนวทางการเผยแพร่: เปิดในงานประชุม งานอีเวนท์หรือกิจกรรมของจังหวัดในภาคตะวันออก
 

๕. ดีต่อใจ เป็นการนำเอานโยบายบริหารภาคกลางของกระทรวงมหาดไทย มาแต่งเป็นบทเพลงเพื่อให้ซึมชับได้ง่ายว่ากระทรวงมหาดไทยได้ทำอะไรบ้าง เช่น น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างแบรนด์ไทย มหาดไทยเชิงรุก บำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อนำพาประเทศไทยให้ยั่งยืน โดยออกแบบผ่านดนตรีเพลงพื้นบ้าน แต่ใช้เครื่องดนตรีทันสมัยมาเรียบเรียง มีลูกคู่มาร้องรับสไตล์เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ ฯลฯ
แนวทางการเผยแพร่: เปิดในงานประชุม งานอีเวนท์หรือกิจกรรมของจังหวัดในภาคกลาง
 

เพลงอีเวนท์: เผยแพร่ในงานอีเวนท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเพลง โดยเปิดต่อจากเพลงประจำภาค
๖. เกิดมาเป็นนายก ฯ: ประเทศไทยมีนายกเยอะ ตั้งแต่นายก อบต. นายก อบจ. นายกเทศมนตรี จนถึงนายกสมาคมต่าง ๆ เพลงนี้จึงเป็นการบอกเล่าภารกิจที่แสนยุ่งยากให้เข้าใจได้ง่าย แสดงถึงความทุ่มเทเพื่อประชาชน แนวเพลงเป็นลูกทุ่งแนวสนุกสนาน
แนวทางการเผยแพร่: เปิดในงานอีเวนท์หรือกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 

๗. คิดถึง อปพร. คนดี: บทเพลงของ อปพร. เพื่อให้คนทำงานจิตอาสาที่ยอมเสียสละเวลาของตนเองได้รับความรู้สึกดี ๆ เมื่อได้ฟังเพลงนี้ แต่เขียนในมุมมองของความรัก คิดถึงห่วงหา โดยออกแบบให้เป็นแนวเพลงเพื่อชีวิต หวานซึ้งกินใจ
แนวทางการเผยแพร่: เปิดในงานอีเวนท์หรือกิจกรรมของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
 

๘. Change for Good: นำแนวนโยบายการบริหารงานของ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในการ Change for Good ให้ทันโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เพื่อโลกที่ดีกว่า รวมถึงความมุ่งมั่นของกระทรวงมหาดไทยในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข มาแต่งเป็นบทเพลงให้ร่วมสมัย สนุกสนาน โดยมีเป้าหมายที่ข้าราชการและบุคลากรรุ่นใหม่ของกระทรวงมหาดไทย
แนวทางการเผยแพร่: เปิดในการประชุม งานอีเวนท์หรือกิจกรรมของกระทรวงมหาดไทย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เช่น การประชุมผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย การประชุมกรมการจังหวัด การตรวจติดตามการปฏิบัติงานและการลงพื้นที่ของผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ
 

๙. รี รี รี: เป็นการเชิญชวนให้คนในประเทศ ลุกขึ้นมาทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ตามแนวนโยบายของกระทรวงมหาดไทย โดยบอกวิธีการทำ และประโยชน์ในการนำขยะมาทำเป็นปุ้ยหมัก มาแต่งเป็นบทเพลงให้สนุกสนานร่าเริง โดยผู้รณรงค์เชิญชวน คือ เยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่ง รีรีรี มาจากคำว่า รีดิวซ์; Reduce (ใช้น้อย) Reuse; รียูส (ใช้ซ้ำ) และ รีไซเคิล; Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่)
แนวทางการเผยแพร่: เปิดในงานอีเวนท์หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน การรณรงค์ให้แยกขยะ หรือเป็นสื่อการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในโรงเรียนขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะ สอนวิธีทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน
  • Share this post!
แนะนำเทศบาล   + ข้อมูลทั่วไป   + บุคลากร   + หน่วยงานภายใน
เอกสาร/รายงาน   - แผนพัฒนาท้องถิ่น   - เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี   - รายงานการติดตามประเมินผล   - แผนพัฒนาการศึกษา   + งานกิจการสภาเทศบาลนครเชียงใหม่   - รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท. (LPA)   - การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ(ITA)   - รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลฯและประชาคมท้องถิ่น   + รายงาน/เอกสารดาวน์โหลดอื่นๆ   + การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA) 2023
ประกาศต่างๆ   + ประกาศราคากลาง   + ข่าวประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)   + ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา   + ประกาศสมัครงาน/รับโอน   - มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริต   + ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่   - TIA จัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลบริการ   - ถามตอบ   - ติดต่อเรา   + ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง   + ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนเทศบาลนครเชียงใหม่   + กองการเจ้าหน้าที่   - ประกาศความเสี่ยงด้านทุจริต   - รวบรวมผลงานที่ผ่านมา   - รายงานผลข้อร้องเรียน   + ฐานข้อมูลตลาด   - คู่มือประชาชน   - คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่   - E-Service   - แบบฟอร์ม Download (สำหรับประชาชน)   - คลองแม่ข่า
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ๑ ถนนวังสิงห์คำอ.เมือง จ.เชียงใหม่
053-259000

©Copyrights. All rights reserved. ©สงวนลิขสิทธิ์เทศบาลนครเชียงใหม่